มาทำความรู้จักกับ วงorchestra กันดีกว่าครับ

รูปวงBerlin Philharmonic
รูปภาพจาก:http://www.pafos2017.eu/en/announcement-berlin-philharmonic-concert/
                                                        วงorchestraคืออะไร??
ออร์เคสตรา (orchestra) หรือ วงดุริยางค์ ในภาษาไทย เป็นคำศัพท์เกี่ยวกับดนตรี มีประวัติมาช้านาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตามยุคสมัย เพื่อสนองความต้องการของผู้ประพันธ์ในการถ่ายทอดความรู้สึกของดนตรีในแต่ละยุค วงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีที่มีวิวัฒนาการเริ่มขึ้นราว ค.ศ.1600 ลักษณะที่สำคัญของวงออร์เคสตราคือ เป็นกลุ่มของนักดนตรี ที่เล่นเครื่องดนตรีหลักทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเครื่องเป่าลมไม้ เครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบ โดยบรรเลงภายใต้การควบคุมของผู้อำนวยเพลง
                                                          ประวัติความเป็นมา
ออร์เคสตรา เป็นภาษาเยอรมัน ตามความหมายรูปศัพท์ หมายถึง สถานที่เต้นรำ ซึ่งหมายถึง ส่วนหน้าของโรงละครสมัยกรีกโบราณ ที่ใช้เป็นที่เต้นรำและร้องเพลง ของพวกนักร้องประสานเสียง สำหรับดนตรีตะวันตก ออร์เคสตรา มีความหมายถึง วงซิมโฟนี ออร์เคสตรา ได้แก่ วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย รวมกันบเครื่องลมไม้ เครื่องทองเหลือง และเครื่องกระทบ
ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 18 คำว่า ออร์เคสตรา หมายถึง การแสดงของวงดนตรี ซึ่งเป็นความหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามคำนี้ยังคงใช้ในอีกความหมายหนึ่ง คือ พื้นที่ระดับต่ำที่เป็นที่นั่งอยู่หน้าเวทีละคร และโรงคอนเสิร์ต
ระยะต่อมาในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อเริ่มกำหนดจำนวนเครื่องดนตรีลงในบทเพลง การพัฒนาวงออร์เคสตราจึงเริ่มมีขึ้น ซึ่งในระยะแรกเป็นลักษณะของวงเครื่องสาย (String Orchestra) ซึ่งมีจำนวนผู้เล่นประมาณ 10 ถึง 25 คน โดยบางครั้งอาจจะมีมากกว่านี้ตามความต้องการของผู้ประพันธ์เพลง ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 วงออร์เคสตรามีการเพิ่มเครื่องลมไม้ และตอนปลายของยุคบาโรค(ประมาณ ค.ศ. 1750) ผู้ประพันธ์เพลงนิยมบอกจำนวนเครื่องดนตรีไว้ในบทเพลงโดยละเอียด นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มเครื่องลมทองเหลือง และเครื่องกระทบในวงออร์เคสตรา
ราวกลางศตวรรษที่ 18 วงออร์เคสตราเป็นรูปแบบขึ้นมาจนได้มาตรฐานในยุคนี้ คือ ยุคคลาสสิก ซึ่งเหตุผลประการหนึ่ง คือ บทเพลงประเภทซิมโฟนีเป็นรูปแบบขึ้นมาในยุคนี้ จึงทำให้ต้องมีการจัดวงออร์เคสตราให้มีมาตรฐานเพื่อใช้เล่นเพลงซิมโฟนี นอกจากนี้การบรรเลงบทเพลงประเภทคอนแชร์โต้ อุปรากร และเพลงร้องเกี่ยวกับศาสนาก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การพัฒนาวงออร์เคสตราเป็นแบบแผนขึ้น
กลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นยุคโรแมนติก มีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีเข้าไปในวงออร์เคสตรา ทำให้วงมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น เนื่องจากในยุคโรแมนติกนั้น นิยมเล่นบทเพลงประเภทดนตรีบรรยายเรื่องราวรวมถึงอุปรากร บัลเล่ต์ และบทเพลงร้องประสานเสียง ล้วนมีผลให้วงออร์เคสตราเพิ่มขนาดขึ้นเพื่อความยิ่งใหญ่และความสมจริงสมจัง เพื่อให้สามารถบรรยายเรื่องราวให้ได้ตรงตามที่ผู้ประพันธ์เพลงตั้งใจไว้
แม้ว่าวงซิมโฟนีออร์เคสตราในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ยังคงมีบทบาทสำคัญในดนตรีตะวันตก ปัจจัยทางเศรษฐกิจก็มีส่วนในการกำหนดขนาดวงออร์เคสตรา หรือแนวทางการประพันธ์เพลงเพื่อใช้กับวงออร์เคสตรา แต่สิ่งนี้ก็มิได้กีดกั้นการสร้างสรรค์ผลงานประเภทที่ใช้วงออร์เคสตราของผู้ประพันธ์เพลงแต่อย่างใด
รูปภาพวงLondon Symphony Orchestra
                                    รูปแบบการจัดวง
1. วาทยากรผู้ควบคุมวง (Conductor) ผู้กำกับวงดนตรีออร์เคสตร้าหรือวงนักร้องหมู่ ซึ่งเป็นผู้ชี้บอกจังหวะและระยะเวลาในการบรรเลงดนตรี
2. ไวโอลินลำดับที่ 1 - First violin (นักไวโอลินที่นั่งใกล้วาทยากรคือหัวหน้าวงดนตรีหรือ Concert Master ตำแหน่งของนักไวโอลินลำดับที่ จำเป็นจะต้องอยู่ใกล้วาทยากรให้มากที่สุด ตำแหน่งเครื่องเป่าและแตรปกติจะอยู่ระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ ของเครื่องสาย)
3. ไวโอลินลำดับที่ 2 - Second violin
4. เชลโล่ - Cello
5. วิโอล่า - Viola
6. ดับเบิลเบส - Double bass
7. อิงลิช ฮอร์น - English horn
8. โอโบ - Oboe
9. ฟลูต - Flute 
10. เบส คลาริเนต - Bass clarinet
11. คลาริเนต - Clarinet
12. บาสซูน - Bassoon
13. คอนทรา บาสซูน - Contra Bassoon
14. เฟรนช์ฮอร์น - French Horn
15. แซกโซโฟน - Saxophone
16. ทูบา - Tuba
17. ทรอมโบน - Trombone
18. ทรัมเปต - Trumpet
19. เปียโนหรือฮาร์พ Piano, Harp
20. ทิมปานี - Timpani [(ตำแหน่งเครื่องดนตรีที่อยู่ห่างวาทยากรที่สุดคือ กลุ่มของเครื่องดนตรีประเภทตี -Percussion)
21. ฉาบ - Cymbal
22. เบส ดรัม - Bass Drum
23. ไทรแองเกิ้ล - Triangle
24. กลอง - side หรือ Snare Drum
25. Tubular Bells - ระฆังราว
26.ไซโลโฟน - Xylophone ระนาดฝรั่ง ในบางกรณีที่แสดงเปียโนคอนแชร์โต้ ตำแหน่งของเปียโนจะถูกผลักมาอยู่ข้างหน้า 

                                 Brahms: Hungarian Dance No. 5 / Abbado · Berliner Philharmoniker

วิดีโอจาก:https://www.youtube.com/watch?v=QAMxkietiik
 วงorchestra ถือเป็นวงดนตรีที่มีขนาดใหญ่ มีเครื่องดนตรีครบทุกประเภท ทำให้สามารถถ่ายทอด อารมณ์ ความรู้สึก และความเป็นดนตรีได้ดี 
                                         วงorchestra ในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทยนั้น ก็มีวงorchestra ที่มีมาตฐาน มีการยอมรับจากต่างประเทศและมีการจัดการแสดงอยู่บ่อยครั้ง 

         ประวัติวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย

วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยเปิดการแสดงครั้งแรกที่หอประชุมกองทัพเรือ เมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๘ เนื่องในงานคอนเสิร์ตเพื่อเฉลิมฉลองการประชุมของสมาคมวิชาชีพนักทรัมเป็ตนานาชาติ (International Trumpet Guild Conference) จากอดีตจนถึงปัจจุบัน วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยยังคงได้รับเสียงชื่นชมและความประทับใจจากมิตรรักแฟนเพลงอย่างไม่ขาดสายตลอด ๑๒ สมัยการแสดง วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยมีการแสดงที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ จากการควบคุมการบรรเลงโดยวาทยกรชั้นนำระดับโลกหลายท่าน เช่น Gudni A. Emilsson, Claude Villaret, Alfonso Scarano, Leo Phillips, Michalis Economou, Jeannine Wagar, Dariusz Mikulski, Ligia Amadio, Terje Mikkelsen, Alkis Baltas, พันเอก ประทีป สุพรรณโรจน์, Jeffery Meyer และอีกมากมาย
นอกจากนี้ วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยยังได้ร่วมแสดงกับผู้แสดงเดี่ยวดนตรีจากทั่วทุกมุมโลก ซึ่งต่างก็ยกย่องว่าวงสามารถเติบโตและมีพัฒนาการก้าวหน้าไปอย่างมากในเวลาไม่นาน ผู้แสดงเดี่ยวรับเชิญเหล่านี้ได้แก่ Jens Lindemann, Eri Nakagawa, Lambis Vassiliadis, Boris Brovtsyn, Martin Kasik, Tomas Strasil, Reinhold Friedrich, Cristina Bojin, Karina Di Virgilio, Mischa Maisky, Yoon Jin Kim, Christopher Espenschied, Dimitri Ashkenazy, Paul Cesarczyk, Serouj Kradjian, Robyn Schulkowsky, Lucia Aliberti, Wolfram Schmitt-Leonardy, Peter Bruns, Shyen Lee, Aiman Musakhodzhaeva, Henri Bok, Christoph Hartmann, ขวัญชนก พงศ์ไพโรจน์, ตปาลิน เจริญสุข และเอกชัย เจียรกุล
12314179_10153678835185953_673075061683552500_o
วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยได้แสดงคอนเสิร์ตในระดับนานาชาติครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ โดยได้รับเชิญจากสมาคมออร์เคสตร้าญี่ปุ่นให้มาแสดงในงานเทศกาลออร์เคสตร้าเอเชีย (Asian Orchestras) ที่คอนเสิร์ตฮอลล์แห่งนครโตเกียว และในปีเดียวกัน วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยยังได้รับเชิญจากรัฐบาลไทยให้ไปแสดงในงานกาล่าคอนเสิร์ตในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ ๑๕ ที่จัดขึ้นที่ชะอำต่อหน้าคณะนายกรัฐมนตรี ๑๐ คนจาก ๑๐ ประเทศอาเซียน และ ๖ คนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ นอกจากนี้ วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยได้มีการจัดการแสดงในระดับนานาชาติที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖  และ ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ และล่าสุดที่สหพันธรัฐมาเลเซีย ในปี พ.ศ. ๒๕๖๐
วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยมีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติอันสูงสุดสำหรับการจัดการแสดงในวาระโอกาสสำคัญของปวงชนชาวไทย คือ การแสดงดนตรีต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงาน “ศิริราชคอนเสิร์ต เทิดไท้องค์อัครศิลปิน” เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ในคอนเสิร์ตนี้ วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยได้บรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ซึ่งเป็นการแสดงพระอัจฉริยภาพของพระองค์ โดยการแสดงในครั้งนี้ถือเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ ๓๗ ปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จฯ มาทรงดนตรีร่วมกับนักศึกษาที่หอประชุมศิริราช เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๖
ฤดูกาลใหม่ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๑ นับเป็นฤดูกาลที่ ๑๓ ภายใต้การควบคุมของวาทยกรหลักประจำวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยคนใหม่ อัลฟอนโซ สการาโน (Alfonso Scarano) ผู้ยืนหยัดและมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพดนตรีคลาสสิกให้ดีเลิศ การแสดงของวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยในแต่ละปีจะมีรายการแสดงมากกว่า ๗๐ รอบการแสดง ซึ่งคัดสรรบทเพลงมาจากบทเพลงออร์เคสตร้ามากกว่า ๓ ศตวรรษ รวมไปถึงบทเพลงของวงเชมเบอร์ บทเพลงร่วมสมัย และบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่เป็นพิเศษอีกด้วย
วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยภาคภูมิใจที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยและมหาวิทยาลัยมหิดล วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือความเป็นนานาชาติ และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม สมาชิกวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยจำนวน ๙๕ คน มาจากกว่า ๑๕ ประเทศทั่วโลก นอกเหนือจากผลงานการแสดงสด วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยยังได้ผลิตผลงานบันทึกเสียงถึง ๑๕ อัลบั้ม นอกจากนั้น วงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทยก็ยังมีโครงการใหม่ๆ และความร่วมมือกับนานาประเทศในการผลิตผลงานบันทึกเสียง การจัดรายการแสดงคอนเสิร์ตทั่วประเทศไทยและต่างประเทศอีกมากมาย
ฤดูกาลประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๑ หรือฤดูกาลที่ ๑๓ ของวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิกแห่งประเทศไทย จะมีการแสดงมากกว่า ๘๐ รายการต่อปี ทั้งรายการแสดงปกติและรายการพิเศษต่างๆ ตลอดฤดูกาลอีกด้วย
อ้างอิงจาก:https://www.thailandphil.com/th/history/

มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ
ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร


เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2525 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ จัดตั้งและพัฒนาวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ (Bangkok Symphony Orchestra หรือ BSO) ให้เป็นวงออร์เคสตร้าของไทยในระดับอาชีพที่มีมาตรฐานสากล ส่งเสริมเผยแพร่และสนับสนุนศิลปะดนตรีสากลคลาสสิก
ให้เป็นที่แพร่หลาย ทั้งในรูปแบบการแสดงและการศึกษา โดยมี นายอุเทน เตชะไพบูลย์ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิฯ คนแรก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 - 2546 รวม 21 ปี หลังจากนั้น
ดร. สุขุม นวพันธ์ ได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิฯ จนถึงปัจจุบัน 
จุดกำเนิดเริ่มต้นของวง BSO เกิดขึ้นจากการรวมตัวของนักดนตรีคลาสสิก และผู้มีใจรักดนตรีประเภทนี้เพียงไม่กี่คน เห็นควรว่าประเทศไทยซึ่งได้มีการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง ยังขาดการพัฒนาอย่างจริงจังด้านวัฒนธรรมดนตรีคลาสสิกตะวันตก อันเป็นวัฒนธรรมสากล
ที่ทั่วโลกยอมรับ ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2525 กรุงรัตนโกสินทร์เฉลิมฉลอง 200 ปี จึงเป็นโอกาสอันดี
ที่จะจัดตั้งวงออร์เคสตร้าตามแบบมาตรฐานสากล ให้เป็นวงอาชีพ ที่มีความต่อเนื่องและมั่นคง
โดยดำเนินงานในรูปแบบเอกชน และไม่แสวงหาผลกำไร
แนวคิดดังกล่าวได้รับความเกื้อหนุนทั้งทางความคิด วิสัยทัศน์ และการเงินอย่างมาก จาก
คุณอุเทน เตชะไพบูลย์ ผู้เป็นกำลังสำคัญในการรวบรวม ชักชวน บรรดานักธุรกิจ และผู้ที่มีใจรักดนตรีประเภทนี้ ให้มารวมตัวกัน การก่อตั้งวง BSO จึงเป็นผลสำเร็จขึ้นได้ โดยเริ่มแรกมีสมาชิก นักดนตรีชาวไทยรวม 47 คน ออกแสดงครั้งแรกในคอนเสิร์ตถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2525 ณ หอประชุมเอ.ยู.เอ. โดยมีนาวาเอกวีระพันธ์ วอกลาง เป็นผู้อำนวยเพลงและผู้อำนวยการด้านดนตรีคนแรก ต่อมา
เพื่อเป็นการพัฒนาวงให้ก้าวหน้าขึ้น ได้มีการแต่งตั้งผู้อำนวยการด้านดนตรีอีก 4 คน คือ Vladimir Kin
ชาวรัสเซีย (พ.ศ. 2533-2534) Timm Tzschaschel ชาวเยอรมัน (พ.ศ. 2534-2537) John Georgiadis ชาวอังกฤษ (พ.ศ. 2537-2539) และ Hikotaro Yazaki ชาวญี่ปุ่น (พ.ศ. 2542-2551)
และปัจจุบัน John Floore ชาวฮอลแลนด์ ผู้ซึ่งมีประสบการณ์ในด้านการบริหารวงออร์เคสตร้า
ชั้นนำของยุโรป ทำหน้าที่เป็น Artistic Director นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 และ ศิริพงศ์ ทิพย์ธัญ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าวง
ในปี พ.ศ. 2556 นี้ มูลนิธิวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพฯ ได้ก้าวเข้าสู่ปีที่ 31 ของการก่อตั้ง
วง BSO มีผลงานการแสดงมากมาย ได้นำเสนอกิจกรรมการแสดงหลากหลายรูปแบบ ทั้งประเภทซิมโฟนีคอนเสิร์ต เชมเบอร์มิวสิค โอเปร่า บัลเล่ต์ ออร์เคสตร้าป็อป เพื่อให้เป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ฟัง
ทุกระดับวัยและรสนิยม บทเพลงที่นำมาบรรเลงจึงมีทั้งผลงานประพันธ์แบบคลาสสิกทุกยุคสมัย เพลงจากอุปรากร ละครเพลง เพลงประกอบภาพยนตร์ เพลงไทย และเพลงสากลยอดนิยม เป็นต้น ขณะเดียวกันได้จัดตั้งโรงเรียนดนตรีบางกอกซิมโฟนี (Bangkok Symphony Music School
หรือ BSS) เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมการศึกษาด้านดนตรีให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไป 
วง BSO มีผลงานการแสดงคอนเสิร์ตเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30 ครั้งต่อปี ภายใต้การอำนวยเพลงของ ผู้อำนวยเพลงรับเชิญทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ ร่วมด้วยศิลปินรับเชิญจากทั่วโลก ศิลปินที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติทั้งหลายเหล่านี้ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะกลับมาร่วมแสดงกับวงอีก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการยอมรับมาตรฐานของวงในวงการนานาชาติ 
กิจกรรมการแสดงคอนเสิร์ตที่สำคัญๆ ที่มูลนิธิฯ จัดขึ้น คือ คอนเสิร์ตรายการถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และรายการคอนเสิร์ตเทิดพระเกียรติพระบรม วงศานุวงศ์ เนื่องในโอกาสสำคัญต่างๆ นอกจากการแสดงในประเทศแล้ว วง BSO ได้รับเชิญไปแสดงในต่างประเทศ อาทิ ในเทศกาลดนตรี ASEAN Orchestra Week กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนได้นำบทเพลงพระราชนิพนธ์ ไปแสดงในประเทศต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเซียและทวีปยุโรป โดยเฉพาะครั้งสำคัญที่โรงคอนเสิร์ต Brahms-Saal, Musikverein ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย สำหรับการจัดคอนเสิร์ตซีรีส์ "Great Artists of the World" ซึ่งมีศิลปินและผู้อำนวยเพลงมีชื่อระดับโลกมาร่วมแสดงกับวง ได้มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน ในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคม มูลนิธิฯ ได้จัดโครงการแสดง "ดนตรีในสวน" แสดง ณ สวนลุมพินี ติดต่อกันเป็นเวลา 20 ปี เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีผู้สนใจเข้าชมเป็นจำนวนกว่าสามพันคน
มูลนิธิฯ ได้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 30 ปี ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับว่าเป็นวงออร์เคสตร้าชั้นนำที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ด้วยการทุ่มเท เสียสละ ทั้งแรงกาย แรงใจ และทุนทรัพย์ของกรรมการมูลนิธิฯ ความร่วมมือร่วมใจจากนักดนตรี ความสนับสนุนจากผู้ชม และในโอกาสพิเศษต่างๆ มูลนิธิฯ ได้รับความสนับสนุนจากภาครัฐ ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร ที่สำคัญที่สุด มูลนิธิฯ ได้รับความสนับสนุนทางการเงินเป็นรายปีมาโดยตลอด จากมูลนิธิสุขุโม กลุ่ม บี.กริม บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด เครดิตสวิส เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ และผู้มีจิตศรัทธา รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากสื่อมวลชนทุกแขนง
คณะกรรมการมูลนิธิฯ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาให้วง BSO เป็นวงออร์เคสตร้าแห่งกรุงเทพมหานคร ที่สร้างชื่อเสียง และเป็นที่ภาคภูมิใจของชาวไทยยิ่งขึ้นตลอดไป

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บูชาหลักร้อย พุทธคุณหลักล้าน พระสมเด็จอนุสรณ์ 122 ปี วัดระฆัง

ดนตรีคืออะไร??